บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันนี้วันแรกของการเปิดเทอม ได้เรียนในรายวิชา สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย กับ อาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ เช่นเคยค่ะ ชั่วโมงแรก อาจารย์ได้ชี้แจงเนื้อหาที่จะเรียนในรายวิชา สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย การเก็บคะแนนค่ะ และ สั่งงาน ก่อนที่จะเริ่มเรียนกัน
สำหรับ บทที่เรียนในวันนี้ คือ บทที่ 1 ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย แบ่งเป็น ดังนี้ค่ะ
1.ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
1.1 ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
1.2 มีความสามารถในความจำกัดและแตกต่างกันออกไป
1.3 ต้องการการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ
1.4 เป็นวัยที่ชอบอิสระ
1.5 ชอบแสดงออกและยอมรับ
2.การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
มีทั้งทางตรง คือ
เรียนรู้ด้วยตัวเองจากการสัมผัสทั้ง 5 และ ทางอ้อม คือ รับรู้จากการบอกเล่าของบุคคลต่างๆ
และเลียนแบบ
3.ธรรมชาติของการเรียนรู้
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
5.การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
6.รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
7.กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
8.แนวคิดของการเรียนรู้ของนักทฤษฎีต่างๆ8.1 นักทฤษฎี BLOOM แบ่งเป็น 6 ระดับ ดังนี้
1.ความจำ
2.ประยุกต์
3.เข้าใจ
4.สังเคราะห์
5.วิเคราะห์
6.ประเมินผล
8.2 นักทฤษฎี เมเยอร์
วิเคราะห์ว่าความจำเป็น เป็นสิ่งที่สำคัญ แบ่งได้ 3 ส่วนย่อยๆ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่สังเกตได้
2.เงื่อนไขพฤติกรรมที่มีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
3. มาตรฐาน อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
8.3 นักทฤษฎี บรุนเนอร์ แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1.การหล่อหลอมโโยประสบการณ์
2.มีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3.ผู้เรียนสร้างความหมายจากแง่มุมต่างๆ
4.ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5.ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง เนื่อควรอยู่ในภาพรวม
8.4 นักทฤษฎี ไทเลอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1.ความต่อเนื่อง
2.การจัดช่วงลำดับ
3.การบูรณาการ
8.5 นักทฤษฎี กาเย่ แบ่งเป็น 8 ระดับ ดังนี้
1.แรงจูงใจ
2.การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
3.ความจำ
4.ความสามารถในการจำ
5.การระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
6.การประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว
7.การแสดงออกของพฤติกรรมในการเรียนรู้
8.การประเมินผล
9.พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ขึ้นอยู่กับการสนใจของเด็กแต่ละคนว่าเป็นแบบใด ถ้าเด็กสนใจก็จะตั้งคำถาม
สรุป สื่อต้องมีความเหมาะสมและตรงตามความต้องการของพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน และ ควรปล่อยให้เด็กได้ทำกิจกรรมตามความสนใจเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันตั้งใจไปเรียนแต่เช้า ก่อนเวลาค่ะ ตอนอาจารย์สอนก็ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้ความรู้และจดจำได้
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆบางคนก็มาเช้า และ มาสาย มีช่วงที่ตั้งใจเรียนและ ช่วงที่คุยกันบ้าง
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา ชี้แจงเรื่องเรียนให้ฟังอย่างละเอียดและเข้าใจดีค่ะ
วันอังคาร ที่ 22 สิงหาคม 2560
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันนี้ อาจารย์เริ่มสอน ด้วยการ ทบทวน เรื่อง บทที่ 1 ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย อีกครั้งหนึ่งค่ะทำให้ดิฉันจดจำเนื้อหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นการทบทวนที่ดีมากค่ะ
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
1. Learning การเรียนรู้
2. Medias สื่อ ตัวกลางหรือตัวเชื่อม
3. Early Childhood เด็กปฐมวัย
4. Learning Medias for Early Childhood สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
5. Sensitive ความรู้สึกไว
6. Nature of learning ธรรมชาติการเรียนรู้
7. Early Childhood Learning การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
8. Early Childhood Learning skills ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
บทเรียนที่ 2 สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Mcluhan (the medium is the massage) ให้ความหมายว่า กระบวนการส่งสาร โดยผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ด้วยประสาทสัมผัส ทั้ง 5 เช่น การพูด การเขียน และอากัปกิริยาต่างๆ
1.ความหมายของสื่อ
สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยในการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวตนเอง
2.ความสำคัญของสื่อ
2.1 เป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
และเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้สู่ตัวเด็ก
2.3 เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนนามธรรมให้เป็นรูปธรรมและได้เรียนรู้รับประสบการณ์ตรง
ทำให้จดจำได้
สรุป
สื่อเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน รวดเร็ว และจำได้แม่นยำ
3.การเลือกสื่่อ
1.เพลง
2.เครื่องดนตรี
3.หนังสือ
4.ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
มี 2 ลักษณะ ดังนี้
4.1 สื่อภายในห้องเรียน
4.2 สื่อภายนอกห้องเรียน สภาพแวดล้อม5.สื่อ มี 3 ประเภท ดังนี้
5.1 ประเภทวัสดุ เป็นสิ่งที่ช่วยสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สไลด์
5.2 ประเภทอุปกรณ์ เช่น เครื่องเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องเล่นเทป กระดานดำ ม้าหมุน กระดานหก
5.3 ประเภทวิธีการ หรือ กระบวนการ เช่น การเล่นบทบามสมมติ การจัดสถานการณ์จำลอง
สรุป ใน การสาธิต การทดลอง การเล่นเกม และกิจกรรมต่างๆ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เช่น
1.ลักษณะทางกาย ได้แก่ การฝึกใช้กล้ามเนื้อ ไม่ควรออกแรงมากเกินไป
2.ลักษณะทางอารมณ์ ได้แก่ การฝึกกลั้นอารมณ์ของตนเอง ควรหาสื่อรูปนิทานภาพ เพื่อสอนให้เด้กรู้จักให้อดทนกับอารมณ์ของตนเอง
3.ลักษณะทางสังคม ซึ่งเด็กจะอยู่ในสังคมในวงแคบ สื่อจึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เข้ากับคนอื่นได้ให้เด็กอยู่ร่วมกันได้ เช่น สื่อประเภทกระดานหก
4.ลักษณะทางสติปัญญา ครูควรใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน กระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้มากที่สุด
6. ความหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย
6.1 ช่วงวัย 0-1 ปี อยากเริ่มจะหัดเดิน ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบจับของชิ้นเล็กๆ
6.2 ช่วงวัย 1-3 ปี เคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น
6.3 ช่วงวัย 2-3 ปี จะเป็นตัวของตัวเอง เริ่มสนใจในสิ่งต่างๆ
6.4 ช่วงวัย 3-4 ปี เริ่มรู้จักมากยิ่งขึ้น สมารถบอกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
6.5 ช่วงวัย 4-5 ปี เข้าใจมากยิ่งขึ้น พูดโต้ตอบได้
6.6 ช่วงวัย 5-6 ปี ชอบเล่น มีความความสร้างสรรค์ มีการจินตนาการที่ดี
7.การเล่นของเด็กปฐมวัย
7.1 ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น จะทำให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายและด้านสังคม ทำให้มีความเข้าใจในชีวิตจริง
7.2 คุณลักษณะของสื่อสร้างสรรค์และการเล่น ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย เน้นให้เด็กได้ใช้สื่อและเล่นร่วมกัน ที่สำคัญ ต้องเหมาะสมกับวัย ความสมาารถ และความสนใจของเด็กด้วย
7.3 สื่อสร้างสรรค์และเครื่องเล่น เช่น บล็อก เครื่องเล่ที่สัมผัส เกมการศึกษา ชุดฝึกทักษะการเคลื่อนไหว นิทาน หุ่นต่างๆ ศิลปะ เพลง ดนตรี และ บทบาทสมมติ
7.4 ประโยชน์การเล่น ด้านร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้านอารมณ์ -จิตใจ มีอารมณืที่แจ่มใส ร่าเริง ด้านสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และ ด้านสติปัญญา เกิดการเรียนที่ดีกับตัวเด็กเอง
7.5 วิธีส่งเสริมการเล่นของเด็กปฐมวัยวัย หาอุปกรณืที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ปล่อยเด็กให้เล่นอย่างอิสระ แนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆ กล่าวคำชม และ ผู้ใหญ่ควรช่างสังเกตและจดำจเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก เพื่อส่งเสริมความสนใจของเด็ก
8.ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
8.1 มีความคิดริเริ่ม ความคิดที่แปลกใหม่
8.2 มีความคล่องตัว คิดจำวนวนมาก
8.3 มีความคิดยืดหยุ่น คิดทดแทน
8.4 มีความคิดละเอียดละออ คิดอย่างละเอียด
9.ประโยชน์ของสื่อ
9.1 หลัการ คือ ประโยชน์ ประหยัด และประสิทธิภาพ
9.2 ประโยชน์ของการใช้สื่ิอ
9.3 ประโยชน์ของการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ที่ส่งผลผู้สอน
10.การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
10.1 การเรียนรู้ด้านสมองและทฤษฎีพหุปัญญา
10.2 ทฤษฎีพหุปัญญา
10.3 ความสุข
10.4 การประยุกต์ พัฒนาเด็กให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข โดยอาศัยสภาพความเป็นจริง
10.5 การลงมือกระทำ เลือกตัดสินใจ สื่อ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ภาษาจากเด็ก และ การสนับสนุนผู้ใหญ่
สรุป การใช้สื่อการสอน ควรใช้อย่างสร้างสรรค์ ให้ตรงตามความเหมาะสมกับเด็กตามแต่ละช่วงอายุ ทั้งประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด ให้มีการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ให้เป็นไปในทางที่ดี ให้ตัวเด็กได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเขาเอง เพื่อเติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่ดี
ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจเรียน จดเนื้อหาสาระที่สำคัญอยู่เสมอค่ะ เพื่อให้ตัวเอง มีความรู้ที่ดี นำไปใช้ได้จริงค่ะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆส่วนมากก็มาเรียนตรงต่อเวลา แต่ก็มีส่วนน้อยที่มาสายค่ะ วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน และมีบางช่วงที่คุยกันบ้างค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลาเสมอค่ะ บรรยายเนื้อหาได้ดีค่ะ เข้าใจง่าย ส่วนพาวเวอร์พ้อยในวันนี้ มีบางส่วนที่ยังสับสันอยู่บ้าง อาจเป็นเพราะเนื้อหามีความละเอียด
วันอังคาร ที่ 29 สิงหาคม 2560
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
1.ความหมายของสื่่อ
สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเด็ก คือ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ คน สัตว์ พืชผัก หรือจับต้องได้ก็จะเกิดการเรียนรู้ ทั้งยังมีส่วนช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา (คุณหญิง เบญจา แสงมลิ)
2.ลักษณะของสื่่อ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
2.1 สือการเรียนรู้ประเภทวัสดุ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 2.1.1สื่อที่จัดทำขึ้นหรือสื่อที่หามา 2.1.2 สื่อที่จัดจำหน่าย เช่น สิ่งพิมพ์
2.2 สื่อการเรียนรู้ประเภทอุปกรณ์ เช่น เครื่องเสียง อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
และ อุปกรณ์ทำให้ไม่มีเสียงไม่มีภาพ
2.3 สื่อการเรียนรู้ประเภทวิธีการ การสาธิต การทดลอง เกมการศึกษา บทบาทสมมติ การเล่นอิสระ
3.ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
3.1 สื่อเป็นหัวใจสำคัญของการจัดกิจกรรม เตรียมความพร้อมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
3.2 สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากรูปธรรมและเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3.3 ช่วยสร้างความสนใจ
3.4 ช่วยให้เด็กได้จดจำสิ่งต่างๆได้ง่าย
3.5 ช่วยอธิบายจากเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย
3.6 ช่วยให้เรียนรู้อย่างรวดเร็ว
3.7 ช่วยสร้างเจตคติที่ดีให้กับเด็ก
3.8 เป็นสิ่งเร้าให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส
3.9 ช่วยในการคิดและการแก้ปัญหา
3.10 ช่วยสร้างจิตนาการ
3.11 ช่วยตอบสนองความสนใจ
3.12 ช่วยให้เป็นเครื่องมือพัฒนาศักยภาพ
4.ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
4.1 มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
4.2 มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและมือของเด็ก
4.3 มีคุณค่าพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก
4.4 มีการใช้ประสาทสัมผัสได้และหลายส่วน
4.5 มีสีสันสวยงาม สดใส สีไม่สะท้อนแสง
4.6 มีความทนทาน น้ำหนักเบา ไม่แตกหัหง่าย
4.7 มีรายละเอียดน้อย เข้าใจง่าย
4.8 มีลักษณะที่มีมิติ
4.9 มีความสอดคล้องกับเรื่องที่เด็กสนใจและต้องการเรียนรู้
4.10 สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้
5.การจัดระบบเพื่อพัฒนาการของเด็ก
5.1 การเลือกสื่อ ต้องมีความปลอดภัย คำนึงถึงผลประโยชน์ ประหยัดและประสิทธิภาพ
5.2 วิธีการเลือกสื่อ
5.2.1 ตรงกับจุดมุ่งหมาย
5.2.2 เหมาะสมกับวัยและความสามารถ
5.2.3 เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
5.2.4 มีวิธีการใช้ที่ง่ายและนำไปใช้ได้หลายครั้ง
5.2.5 มีความถูกต้องตรงตามเนื้อหาและมีความทันสมัย
5.2.6 มีคุณภาพที่ดี
5.2.7 ไม่ซับซ้อน ใช้เวลาเพียงสั้นๆในการเล่น
5.2.8 สามารถจับต้อง สัมผัสได้
5.2.9 ส่งเสริมการความคิด
5.2.10 มีความเหมาะสมกับเวลาที่ใช้
6.หลักการผลิตสื่อการเรียนการสอน
6.1 สำรวจความต้องการในการใช้สื่อ
6.2 วางแผนในการผลิตสื่อ
6.3 ดำเนินการผลิตสื่อ
6.4 ทดสอบคุณสมบัติของสื่อ
6.5 นำสื่อมาปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปใช้จริง
7.ขั้นตอนการใช้สื่อ
7.1 เตรียมตัวครู
7.2 เตรียมตัวเด็ก
7.3 เตรียมสื่อ
8.การนำเสนอสื่อ
8.1 สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจ
8.2 ใช้สื่อตามลำดับขั้นตอนของแผนกิจกรรม
8.3 ควรอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของสื่อที่ใช้ และไม่ยืนหันหลังให้เด็ก
8.4 ไม่ให้เด็กเห็นสื่อหลายๆชนิดพร้อมกัน
8.5 เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรม
8.6 ผู้ใหญ่ควรสังเกตและให้ความสนใจกับเด็ก
9.การประเมินการใช้สื่อ
เด็กมีความสนใจสื่อชนิดนั้นมากน้อยเพียงใด สื่อมีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเพียงใด
10.การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ ฝีกให้เด็กเก็บรักษาและหยิบสื่อมาใช้ได้เอง ซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด
11.สื่อการสอนเดินได้
สายตา สีหน้า และน้ำเสียง
12.สื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ของเด็กเล่น เครื่องกีฬา และเครื่องดนตรี
13.การจัดประเภทของเล่นตามทฤษฎีเชิงรู้คิด
ของเล่นเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ฝึกคิดและลองทำ และพัฒนาภาษาที่ดี
14.การเลือกของเล่นเพื่อความปลอดภัย
วัสดุที่ใช้ผลิต ส่วนประกอบ และ โครงสร้าง
15.คุณสมบัติของเล่นที่ดี
ใช้ประาสาทสัมผัสได้ เหมาะสมกับวัย เล่นได้หลายแบบ ปลอดภัย และ นิยมเล่นกันทั่วไป
16.วัตถุประสงค์ของการเล่นที่ใช้เครื่องเล่นของเด็ก
เพื่อความเพลินเพลิด พัฒนาร่างกายและอารมณ์ที่ดี
17.การเลือกเครื่องเล่นที่ปลอดภัย
มีคุณสมบัติที่ดีเหมาะสมกับวัย ปลอดภัย และทำความสะอาดง่าย
18.ทฤษฎีและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
18.1 รูดอล์ฟ สรุปการเล่นเป็น 3 ประการ คื่อ
18.1.1 การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
18.1.2 การเล่นเชื่อมโยงเด็กและสังคม
18.1.3 การเล่นนำไปสู่ภาวะสมดุลทางอารมณ์
18.2 เพียเจท์ สรุปเป็น 3 ประการ คือ
18.2.1 การเล่น คือ การระบายอารมณ์
18.2.2 การเล่นทำให้เข้าใจเป็นนามธรรม
18.2.3 การเล่นเป็นการเรียนรู้ทางสังคม
พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ช่วงอายุ 0-2 ปี จะเล่นซ้ำๆ อายุ 2-3 ปี เรียนรู้ได้โดยมีสัญลักษณ์ และ อายุ 3-6 ปี จะเล่นการการสมมติตนเอง สิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ
พฤติกรรมการเล่นของเด็ก มาจากการเลียนแบบ การสำรวจ การทดสอบ และการสร้าง
สรุป สื่อ การเล่นพัฒนาเด็กปฐมวัย
การเล่นจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก ผู้ใหญ่ควรให้ความสนใจและส่งเสริมการเล่นของเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม
สื่อของดิฉันที่นำมา มีชื่อว่า หุ่นถุงกระดาษเป็ดน้อยค่ะ
สุดท้ายเป็นการวิเคราะห์สื่อ ทุกคนได้นำเสนอสื่อที่ตนเองนำมาให้เพื่อนๆได้รู้ และ นำเสนอ การวิเคาระห์สื่อแบบเป็นกลุ่มค่ะ โดยเลื่อกจากในกลุ่มของแต่ละคนมา 1 อย่างและนำเสนอหน้าห้องเรียน
ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนตามเวลาที่อาจารย์นัดเรียนค่ะ ตั้งใจจดเนื้อหาที่เรียนในวันนี้มากที่สุด และ นำเสนอสื่อของตนเองให้เพื่อนๆได้รู้ได้เข้าใจค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆก็มาเรียนตรงเวลา แต่ช่วงที่อาจาย์สอน เพื่อนๆก็มีการคุยกันบ้าง ส่วนสื่อที่เพื่อนๆนำมาของทุกคนน่าสนใจค่ะ เหมาะสำหรับเด็กวัยอนุบาลมากค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มาสอนช้าไปหน่อยค่ะ แต่วันนี้อาจารย์อธิบายส่วนเนื้อที่เพิ่มเติมได้อย่างเข้าใจเป็นอย่างดีค่ะ ทำให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตามหลักการดีค่ะ
วันอังคาร ที่ 5 กันยายน 2560
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
บทที่ 4 เรื่อง กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้
1.ความหมายของกระบวนการใช้สื่อ
การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้โดยจากเพื่อนกลุ่มเล็กๆไปสู่เพื่อนกลุ่มใหญ่และมีพฤติกรรมอย่างง่ายๆใกล้ชิดกับเกมโดยให้เด็กเล่นเกมชนิดต่างๆ
2.เกม (Games)
สิ่งที่ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการเล่นเกม จะไม่มีการแข่งขันว่าแพ้หรือชนะใดๆทั้งสิ้น แต่จะเน้นพัฒนาศักยภาพที่ดีให้กับเด็ก
3.จุดมุ่งหมายในการเล่นเกม
3.1 ได้รับความสนุกเพลิดเพลิน
3.2 พัฒนาการเล่นที่ดีและมีนำ้ใจนักกีฬา
3.3 ฝึกท่าทางให้มีสุขภาพและรูปทรงสวยงาม
3.4 ช่วยเร้าประสาทการรับรู้ตลอดเวลา
3.5 สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง
3.6 ฝึกการมีส่วนร่วมในสมชิกกลุ่ม
4.เกมการเล่น
4.1 ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางกาย
4.2 ช่วยพัฒนาทักษะกลไกการเคลื่อนไหว
4.3 ช่วยสนับสนุนวุฒิภาวะทางอารมณ์
4.4 ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสังคม
4.5 ช่วยพัฒนาด้านการรับรู้ การคิด การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
5.แนวคิดการจัดเกม
5.1 เกณฑ์การเลือก พิจารณาความสำคัญว่าส่งเสริมด้านใดบ้าง ฝึกทักษะด้านใด เด็กสนใจอย่างไร เล่นซำ้ๆได้และพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
5.2 การวางแผนการเล่นเกม
5.3 วิธีดำเนินการ
5.4 การสอนเกมลักษณะต่างๆ เช่น วงกลม กลุ่มเด็กเล็ก การเล่นเป็นทีม
6.เกมการศึกษา
เป็นกิจกรรมที่ฝึกทักษะตามหลักทฤษฎี เพื่อที่จะช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมีการสังเกตและการคิดหาเหตุผลที่ดี
เกมการศึกษา หมายถึง สื่อการเรียนที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ จากการเล่นโดยมีกติกา เช่น ด้านภาษา ด้านคณิต ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการรับรู้และการจำ ตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
7.วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา
7.1 เพื่อฝึกการสังเกตและการจำแนกด้วยสายตา
7.2 เพื่อฝึกการคิดหาเหตุผล
7.3 เพื่อฝึกการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา
7.4 เพื่อฝึกประสาทสัมผัสระหว่างมือและตา
7.5 เพื่อฝึกการมีคุณธรรมที่ดี
7.6 เพื่อฝึกการทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว
8.ประเภทของเกมการศึกษา
8.1 เกมจับคู่ ได้แก่ ภาพที่เหมือนกัน ภาพที่สัมพันธ์กัน ภาพประเภทเดียวกัน ภาพที่ขาดหายไป
8.2 เกมจัดหมวดหมู่
8.3 เกมภาพตัดต่อ
8.4 เกมเรียงลำดับภาพ
8.5 เกมโดมิโน
8.6 เกมตารางการสัมพันธ์
8.7 เกมพื้นฐานคณิตศาสตร์
8.8 เกมลอตโต
9.หลัักการใช้เกมการศึกษา
เริ่มสังเกตจากสิ่งที่ใหญ่ๆก่อนแล้วค่อยสังเกตสิ่งที่เป็นส่วนย่อยๆ หรือส่วนที่ละเอียดมากขึ้นตามขั้นลำดับ
10.เกมการศึกษา
10.1 เริ่มพูดคุยเรื่องทั่วไปๆที่เกี่ยวกับเกมการศึกษา
10.2 อธิบายขั้นตอนการเล่น
10.3 ฝึกเล่น โดยมีครูคอยชี้แนะ
10.4 เล่นกันเป็นกลุ่ม
10.5 ตกลงกติกาในการเล่นเกม
10.6 ครูตรวจสอบความถูกต้อง
10.7 ครูต้องดูว่า ใครเล่นก่อนเสร็จก่อน
10.8 ตรวจสอบความเรียบร้อย
10.9 ถ้าเป็นการแข่งขัน ควรมีการตัดสินคะแนน
11.ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
11.1 ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมมา
11.2 เป็นเกมที่เล่นได้ง่ายๆ
11.3 มีกติกาที่ชัดเจน
11.4 เป็นเกมที่ใช้เวลาเพียงสั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที
11.5 ให้ความสนุกสนาน
11.6 ทำให้ไม่เสียวินัยในห้องเรียน
11.7 เป็นเกมที่ไม่มีการแข่งขัน
11.8 สามารถเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้
11.9 ถ้าเป็นการแข่งขัน ควรมีการตัดสินใจคะแนนอย่างถูกต้อง
12.ประโยชน์ของเกมการศึกษา
สามารส่งเสริมพัฒนาทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา และทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
13.ลักษณะของสื่อ
เกมจับคู่ เกมภาพตัดต่อ เกมโดมิโน เกมเรียงลำดับ เกมจัดหมวดหมู่ เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์ เกมหาภาพที่หาความสำคัญตามลำดับที่กำหนด เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต) เกมหาภาพความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย เกมพื้นฐานการบวก เกมจับคู่แบบตารางความสัมพันธ์ (เมตริกเกม)
สุดท้ายมีการลิงค์บล็อกของเพื่อนๆทุกคนในห้องเรียนค่ะและการนำเสนอบทความที่เกี่ยวกับ วิชา สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ บทความสื่อและเครื่องเล่นเด็กปฐมวัย บทความเกมการศึกษา บทความสื่อและเครื่องเล่นของเด็กยุคใหม่ บทความความหมายและความสำคัญของสื่อ บทความประโยชน์ของนิทาน เพลงและคำคล้องจอง บทความพ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกสื่อและเครื่องเล่นเด็กปฐมวัยได้อย่างไร บทความประโยชน์ของสื่อ บทความสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย บทความสื่อพัฒนาการเรียนรู้จากไม้ และ ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย
ส่วนดิฉันก็ได้นำเสนอบทความ เรื่อง กาวรเลือกของเล่นเด็ก เสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ โดย รศ.ดร.จิตินัันท์ เดชะคุปต์ สาขาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช
ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลาค่ะ ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาเป็นอย่างดี และ ฟังเพื่อนๆนำเสนอบทความได้ถามคำถามเพื่อนไปบ้าง ก็เป็นการหาความรู้ที่ดีค่ะ ส่วนตอนดิฉันได้ออกไปนำเสนอบทความก็ตั้งใจนำเสนอแต่อาจจะทำได้ยังไม่ดีเท่าท่ควรค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆคุยกันเสียงดังมากเลยค่ะ ส่วนการนำเสนอบทความของเพื่อนๆก็มีทั้งที่เข้าใจและไม่เข้าใจบ้างเล็กน้อยคะ
ประเมินอาจารย์
วัันนี้อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลาเช่นเดิมค่ะ วันนี้เพาเวอร์พ้อยน่าสนใจมากค่ะเพราะมีรูปภาพที่น่าดู ทำให้ไม่น่าเบื่อค่ะวันอังคาร ที่ 12 กันยายน 2560
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
ก่อนการเรียนวันนี้ได้มีเพื่อนๆนำเสนอบทความ ได้แก่ 1.บทความ เรื่อง แป้งโดว์เพื่อพัฒนาการของลูกรัก ช่วยพัฒนากายภาพและกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย
2.บทความ เรื่อง ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย สามารถสะท้อนพัฒนาการของเด็กได้เป็นอย่างมาก ช่วงอายุ 0-2 ปี จะมองตามคนที่มาเล่นด้วย ช่วงอายุ 2-3 จะเล่นแบบคู่ขนาน คือ การเล่นกับคนอื่นได้แต่ไม่เล่นด้วยกัน ช่วงอายุ 4-5 ปี จะเล่นด้วยกันกับเพื่อนแต่ไม่มีบทบาท และช่วงอายุ 5-6 ปี เล่นร่วมกับคนอื่นได้มากขึ้น
3.บทความ เรื่อง พ่อแม่ สุดยอดของเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย
4.บทความ เรื่อง ของเล่นเด็ก พ่อแม่ควรใส่ใจกับของเล่นของลูกเพื่อพัฒนาการที่ดีของลูก
สำหรับวันนี้ได้ฝึกการทำป็อปอัพ ดอกไม้ จากกระดาษค่ะ ได้รู้วิธีการตัดดอกไม้และวิธีการติดดอกไม้อย่างถูกวิธีค่ะ
ดอกไม้ป็อปอัพ
วิธีการ ตัดรูปภาพตามช่องสี่เหลี่ยม ระบายสีรูปภาพ นำไม้มาเสียบระหว่างกลางทั้งสองแผ่นกระดาษของรูปภาพ ติดกาวประกบกันให้แน่นหนาค่ะ
ภาพ แม่ไก่ออกไข่
วิธีการทำ พับกระดาษ และเจาะใต้ท้องของแม่ไก่เพื่อให้สอดไข่ออกมาจากใต้ท้องแม่ไก่ได้ วาดรูปไข่ของแม่ไก่ในแผ่นที่ตัดตามรอยปะที่อยู่ด้านหลัง ตกแต่งระบายสีแม่ไก่และไข่ของไก่ เป็นอันเสร็จแล้วค่ะ
ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจทำสื่อการประดิษฐ์ดอกไม้ แต่ยังทำไม่ดีพอค่ะ จะนำไปฝึกทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆมาเรียนตรงต่อเวลากันเป็นส่วนมาก ตั้งใจทำสื่ออย่างสวยงามกันทุกคนเป็นอย่างดีค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์อารมณ์ดีเป็นพิเศษ ตั้งใจทำสื่อให้ดูเป็นตัวอย่างสวยงามดีมากค่ะ
วันอังคาร ที่ 19 กันยายน 2560
บันทึกการเรียนรู้ที่ 6
วันนี้มารอเรียนแต่เช้าเลยค่ะ งานที่ได้รับมอบหมาย คือ การทำกระดานชักและการดึงเชือกตุ๊กตา สำหรับตัวดิฉันได้เรียนรู้วิธีการทำสื่อประเภทนี้ ทำให้ทำเป็นอย่างถูกต้อง และยังเป็นการร่วมมือสามัคคีกับเพื่อนในกลุ่มเพื่อช่วยกันทำงานอย่างขยันขันแข็งและสนุกสนาน
ภาพตัวโยก ปลาฉลามไล่กัดปลาเล็กในใต้ท้องทะเล
ภาพขยับ
สุดท้ายเป็นการรวบรวมผลงานของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม มาหน้าห้องเรียน เพื่อมาดูความเรียบร้อยและความสวยงามที่เพื่อนๆตั้งใจทำกันอย่างเต็มที่ค่ะ ผลงานของทุกกลุ่มมีความสวยงามแตกต่างกันไป ทำให้ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของเพื่อนๆทุกคนได้อย่างมากขึ้นค่ะ
หนังสือภาพครึ่งวงกลม
สมุดคำศัพท์ผลไม้แบบพับ
เกมการศึกษา
ชุดสื่อ กลางวัน-กลางคืน
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจมารอเรียนแต่เช้าค่ะ ตั้งใจวาดรูปและทำงานกับเพื่อนๆในกลุ่มอย่างสามัคคีกันตามที่อาจารย์ได้มอบหมายอย่างเต็มที่ค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆ ตั้งใจวาดรูป ตัดกระดาษ ช่วยกันทำงานของเพื่อนกันอย่างตั้งใจจริงค่ะ มีความสามัคคี มีน้ำใจช่วยเหลือกันและกัน
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ตั้งใจสอน และ สาธิตการทำสื่อ เป็นอย่างดีและเข้าใจเป็นอย่างมากค่ะ
วันจันทร์ ที่ 2 ตุลาคม 2560
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่ ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์
1.การเดินทางตั้งแต่เริ่มเวลา 09.30 น. ขึ้นรถเมล์ สาย 136 จากหน้ามหาลัยราชภัฏจันทรเกษมไปยัง รถไฟฟ้า MRT รัชดา ไปลงที่สถานีเพชรบุรี แล้วเดินทางเท้าไปลงที่ท่าเรืออโศกนั่งเรือไปจนสุดสายไปลงที่ผ่านฟ้าลีลาศ จากนั้นเดินทางเท้าผ่านไปยังหอศิลป์นิทรรศ์รัตนโกสินทร์ และข้ามฝั่งไปยังโรงเรียนเสตรีวิทยา เดินทางเท้าต่อไปอีกนิดหนึ่งก็ถึงศึกษาภัณฑ์พาณิชย์
ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1-2 ชั่วโมง
ค่ารเมล์ 6.50 บาท ค่ารถไฟฟ้า MRT 25 บาท ค่าเรือ 13 บาท รวมทั้งหมด 44.50 บาท
2.สื่อในศึกษาภัณฑ์ มีประมาณ 4 ประเภท แยกย่อยเป็นหมวดหมู่อีกมากมาย
2.1 หนังสือ-ภาพพิมพ์ เช่น หนังเรียนตาม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามแต่ละช่วงชั้นปี คู่มือรายวิชา ระเบียบการตัดสินผลการเรียน ภาพมารยาทไทย การไหว้-การนั่ง
2.2 สื่อการเรียนรู้ทั้งเป็นแบบเรียนและแบบเล่น เช่น อุปกรณ์คณิตศาสตร์ รูปทรงเรขาคณิตจากไม้ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ บีกเกอร์ หลอดทดลอง ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย ลูกบอล ตุ๊กตา
2.3 เครื่องแบบ-เครื่องใช้นักเรียน เช่น ชุดนักเรียน ชุดลูกเสื่อ-เนตรนารี ไม้พอง
2.4 สินค้าอื่นๆ เช่น เครื่องเขียนปากกา ดินสอ แฟ้ม กระดาษสี กระเป๋าใส่ดินสอ
3.สื่อเด็กปฐมวัยที่ดิฉันเห็น เช่น 3.1 หนังสือเรียนระดับปฐมวัย ที่ใช้ในการเรียนรู้ฝึกการเตรียมความพร้อมในกาารเขียน เช่น หนังสือหัดคัด ก-ฮ หนังสือนิทานอีสป
3.2 ผัก-ผลไม้จำลอง ใช้นำไปฝึกให้เด็กๆเรียกชื่อผักผลไม้ได้ เรียนรู้รูปทรงและสีได้ เช่น มะม่วง มะเขือเทศ
3.3 กล่องจัดภาพจากเงา ใช้ในการนำไปได้ทั้งการเรียนรู้และเกมการศึกษาได้ เรียนรู้รูปร่างลักษณะภาพที่เหมือนกัน เช่น รูปภาพผัก ผลไม้
3.4 กล่องจับคู่ภาพ ใช้ในการฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะรูปภาพ เช่น ชุดรูปภาพพืช ชุดบ้านของเรา
3.5 เกมการศึกษา ชุด เดาใจ ใช้ในการฝึกให้เด็กๆรู้จักศิลปะรูปร่างต่างๆและการนับเลข
3.6 โทรศัพท์มือถือผ้า ฝึกให้เด็กๆเล่นให้เกิดการเรียนรู้ที่จะพูดคุยกับเพื่อนๆ การหยิบจับโทรศัพท์อย่างถูกวิธี
3.7 บล็อกไม้ ฝึกให้เด็กๆใช้กล้ามเนื้อมือและการคิดว่าควรจะต่อไปแบบใด
3.8 ชุด เข็มขัดช่างไม้ ฝึกให้เด็กๆได้เล่นอย่างสนุกสนานและรู้จักชื่อ วิธีการใช้ของเครื่องมือช่าง
3.9 แผ่นซีดีบอกชื่อผลไม้และสัตว์ นำไปใช้ในการเรียนหน่วยผลไม้และหน่วยสัตว์ จะทำให้เด็กๆจดจำชื่อได้ง่ายขึ้น
3.10 ตัวปั้ม ก-ฮ นำไปใช้ในการฝึกให้เด็กรู้จักการลากเส้นตามรอยประ ตามพยัญชนะไทย จะทำให้เด็กๆรู้จักวิธีการเขียนได้ดีขึ้น
4.การได้ไปศึกษาภัณฑ์ครั้งนี้ได้รู้จักวิธีการไปโดยการนั่งเรือประหยัดทั้งเงินและเวลา และสื่อการเรียนรู้หนังสือมีหนังสือที่น่าสนใจมากมาย มีทั้งความสนุกและความเหนื่อยไปในตัวค่ะ
5.ความประทับใจ คือ การได้นั่งเรือเป็นครั้งแรก ทั้งสนุกทั้งกลัว และเปียกด้วยค่ะ
ประเมินตนเอง
วันนี้ก็ไปรอก่อนเวลาที่อาจารย์นัดค่ะ เตรียมตัวไปอย่างดีค่ะ ได้ทั้งความรู ความสนุก ความเหนื่อยค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนมาก็เตรียมตัวมาเป็นกันอย่างดีในการไปศึกษาภัณฑ์กันเป็นอย่างดีทุกคนค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มาตรงเวลาค่ะ พานักศึกษาไปกันอย่างสนุกสนานดีค่ะ คอยดูแลนักศึกษาเป็นอย่างดีเสมอมาค่ะ
วันอังคาร ที่ 19 กันยายน 2560
บันทึกการเรียนรู้ที่ 8
วันนี้เริ่มการทำสื่อ คืิอ 1.ตัวหนอนบนใบไม้ วิธีการทำ ขั้นที่ 1 ตัดกระดาษเป็นรูปใบไม้ระบายสีให้สวยงาม ขั้นที่ 2 นำกระดาษทิชชู 1 แผ่น มาพันใส่ตะเกียบแล้วรูดให้ยับให้เสมือนตัวหนอน ขั้นที่ 3 นำเทปสีเขียวมาพันไม้ตะเกียบจนสุดไม้ ขั้นที่ 4 ตัดหลอดมาเล็กน้อยใส่เข้าไปในไม้ตะเกียบ นำตัวหนอนทากาวร้อน ส่วนหัวให้อยู่บนสุดของตะเกียบ ส่วนหางให้ทากาวติดกับหลอด จากนั้นก็ทากางกาวตะเกียบให้ติดกับใบไม้
ภาพล่องหน
2. ภาพล่องหนไข่ขี้เกียจ วิธีการทำ ขั้นที่ 1 นำกระดาษมารูปแล้วนำแผ่นใสมาแม็กติดกับกระดาษที่วาดรูป ขั้นที่ 2 นำเทปกาวมาปิดตรงขอบที่แม็ก นำปาากาเมจิกมาวาดรูปตามที่ได้วาดไว้ตอนแรกใส่บนแผ่นใส ขั้นที่ 3 นำกระดาษมาคั้นไว้ระหว่างกลางของแผ่นใส่กับรูปที่วาด ทำขอบปิดข้างหน้าให้สวยงาม
วงจรชีวิตเป็ด
แผ่นชาร์ตเพลง
ประเมินตนเอง
วันนี้มารอเรียนก่อนเวลาค่ะ ได้ตั้งใจทำสื่อที่อาจารย์สอนทุกชิ้น ให้ออกมาดีที่สุดเสมอค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆมารอเรียนก่อนเวลา ทุกคนตั้งใจทำสื่ออย่างตั้งใจจริงและสวยงามกันทุกคนค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ก็สอนทำสื่ออย่างเต็มที่ อธิบายอย่างละเอียดเข้าใจดี เพื่อให้นักศึกษานำไปใช้ได้จริงในอนาคต เป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ
วันอังคาร ที่ 17 ตุลาคม 2560
บันทึกการเรียนรู้ที่ 9
เครื่องเคาะจังหวะดอกไม้
วันนี้อาจารย์ได้พาทำดอกไม้จากกระดาษสี วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่
1.ตะเกียบ 2.แก้วน้ำกระดาษ 3.กระดาษสีต่างๆ 4.กระดาษแข็ง 5.เทปสีเขียว 6.กาวลาเท็กซ์ 7. กาวแท่ง 8.ปืนกาว 9.ข้าวสาร
วิธีการทำ
1.ตัดตูดแก้วนำ้กระดาษแล้วใส่ตะเกียบลงไปตรงรูที่เจาะยิงปืนกาวติดให้แน่น
2.ใส่ข้าวสารลงไปในแก้วน้ำ ตัดกระดาษแข็งมาปิดปากแก้วน้ำยิงปืนกาวให้แน่น
3.ตัดแต่งกลีบดอกไม้ เกสร แล้วนำมากลีบดอกไม้มาทากาวแล้วติดที่แก้วน้ำ ทำให้เป็นกลีบสวยงาม
4.พันเทปสีเขียวที่ไม้ตะเกียบ เพื่อให้เป็นก้านดอกไม้เสมือนจริง
สื่อที่ผลิตตามเพจ
สื่อที่ผลิตตามเพจ
สื่อจากวัสดุเหลือใช้จากถ้วยโฟม
วันนี้มายกของที่ห้องพักอจารย์เพื่อที่จะนำไปเรียน และตั้งใจทำสื่อดอกไม้ให้ดีที่สุด
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนมากก็มาเรียนตรงต่อเวลา ทุกคนตั้งใจทำสื่อดอกไม้กันอย่างสวยงามค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ก็สอนทำสื่อดอกไม้ให้สวยงาม อธิบายงานต่างๆให้ฟังอย่างละเอียดเข้าใจดี
วันอังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2560
บันทึกการเรียนรู้ที่ 10
วันนี้ได้ทำโมบายดาว อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ 1.กระดาษสี 3 แผ่น 2.กรรไกร 3.กาวลาเท็กซ์ 4.อุปกรณ์ตกแต่ง
วิธีการทำ
1.ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส
แล้วพับเป็นสามเหลี่ยม
2.ตัดเป็นเส้นตรงเล็กๆตามแนวรูปที่พับเป็นสามเหลี่ยม
3.คลี่กระดาษออก
แล้วแปะกาวเส้นตรงที่ตัดเป็นเส้น แปะไขว้กันไปมา
4.นำโมบายมาติดรวมกันให้เป็นดาว
ดอกไม้จากกระดาษทิชชู่ อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ 1.ทิชชู่ 2.ไม้เสียบลูกชิ้น 3.ด้าย 4.เทปสีเขียว
วิธีการทำ
1.ทำทิชชู่มาทำให้เป็นรูปร่างโดยวิธีการพับ ม้วน ฉีก ต่างๆ
2.นำดอกไม้มาติดกับไม้เสียบลูกชิ้น มัดด้วยด้ายให้แน่น
3.พันก้านด้วยเทปสีเขียวให้เรียบร้อยป้ายนิเทศวันลอยกระทง
ธนาคารคำ
วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อบ ตั้งใจฟังและดูวิธีการทำสื่ออย่างมากค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนมากก็มาเรียนตรงต่อเวลา ทุกคนตั้งใจทำสื่่อกันอย่างจริงจังและทำออกมาได้สวยงามค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ก็สอนทำโมบายดาว และดอกไม้จากทิชชู่ ได้ออกมาอย่างสวยงามค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนมากก็มาเรียนตรงต่อเวลา ทุกคนตั้งใจทำสื่่อกันอย่างจริงจังและทำออกมาได้สวยงามค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ก็สอนทำโมบายดาว และดอกไม้จากทิชชู่ ได้ออกมาอย่างสวยงามค่ะ
วันอังคาร ที่ 7 พฤศจิกายน 2560
บันทึกการเรียนรู้ที่ 11
วันนี้อาจารย์สรุปชิ้นงานสื่ิอที่ต้องทำส่ง ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม และสั่งงานชิ้นสุดท้าย
แจ้งรายละเอียดคะแนนและการสอบปลายภาคค่ะ
ดอกไม้จัดบอร์ด
ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา และทำสื่อที่อาจารย์สั่งค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนมากก็มาเรียนตรงต่อเวลา ทุกคนทำสื่อที่อาจารย์สั่งกันอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ก็ชี้แจงเรื่องคะแนนเก็บ การสอบปลายภาคและงานที่ต้องส่งค่ะ
วันอังคาร ที่ 28 พฤศจิกายน 2560
บันทึกการเรียนรู้ที่ 12
วันนี้เป็นวันส่งงานการทำสื่อการเรียนรู้และจัดแสดงผลงานการทำสื่อการเรียนรู้ของนักศึกษา ทุกคนได้ช่วยกันจัดงานแสดงผลงานของการทำสื่ออย่างตั้งใจกันทุกคนค่ะ
สุดท้ายเป็นการถ่ายภาพร่วมกับอาจารย์ผู้สอนค่ะ เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกกับการเรียน วิชา สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และเป็นประโยชน์แก่การนำไปใช้ฝึกสอนกับเด็กปฐมวัยในอนาคตได้เป็นอย่างดีค่ะ
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจนำสื่อการเรียนรู้ มาให้อาจารย์ตรวจเป็นอย่างดีค่ะ และช่วยเพื่อนๆจัดแสดงผลงานการทำสื่อการเรียนรู้ค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนมากก็ตั้งใจทำสื่อการเรียนรู้และช่วยกันจัดผลงานโชว์แลกเปลี่ยนความรู้กันเป็นอย่างดีค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ก็ตรวจงานนักศึกษา ชี้แจงข้อสอบ และชี้แจงเรื่องที่จะนำสื่อไปบริจาคค่ะ อาจารย์เป็นอาจารย์ที่ดีเสมอมาค่ะ
วันอังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2560
บันทึกการเรียนรู้ที่ 13
วันนี้ได้นำสื่อการเรียนรู้ที่นักศึกษาทุกคนได้ผลิตขึ้น นำไปมอบให้เด็กๆที่่มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมเสือใหญ่และมูลนิธิส่งเสริมพัฒนาบุคคล ศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่ เพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆและเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านให้กับเด็กๆ
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจนำสื่อการเรียนรู้มามอบให้กับน้องๆที่เสือใหญ่ ด้วยความตั้งใจจริงค่ะ เพื่ออยากให้น้องมีสื่อการเรียนรู้ที่ดีค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนทุกคน มีความตั้งใจและความร่วมมือกันถือของเพืี่อที่จะนำไปมอบให้กับน้องๆอย่างตั้งใจค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีความตั้งใจที่จะพานักศึกษาไปมอบสื่อการเรียนรู้ให้กับน้องๆอย่างตั้งใจจริงค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น